the thai cancer
Faculty of Medicine, Phramongkutklao College of Medicine, Mahidol University
Faculty of Medicine, Phramongkutklao College of Medicine, Mahidol University
วิสัยทัศน์
ดำเนินการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านหรือแพทย์ประจำบ้านต่อยอด ให้ผลผลิตที่จบไปมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งและสามารถดำเนินการวิจัยได้ทัดเทียมกับแพทย์สาขาเดียวกันที่จบจากสถานบันฝึกอบรมของโรงเรียนแพทย์ชั้นนำอื่นๆ ในประเทศ


พันธกิจ
     ให้คำปรึกษา/ตรวจ/รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีส่วนร่วมในการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุศาสตร์ทั่วไป และดำเนินการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านหรือแพทย์ประจำบ้านต่อยอด สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา รวมทั้งดำเนินการวิจัยทางคลินิกเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง
     หน่วยมะเร็งวิทยา สาขาวิชาอายุรศาสตร์ กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้กำหนดพันธกิจของการฝึกอบรมให้สอดคล้องไปกับพันธกิจของการฝึกอบรมของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ดังนี้
     1. ฝึกอบรมแพทย์ด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาให้มีเจตคติคุณธรรม จริยธรรม แห่งวิชาชีพมีความรับผิดชอบและจิตสำนึกของความเป็นลูกพระราชบิดาดดยถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง มีความรู้และทักษะทางด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาที่สอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพของชุมชน สังคมในภาคใต้ และระบบบริการสุขภาพที่มีความหลากหลายของประเทศ
     2. ส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีแนวคิดและพัฒนาทักษะในการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมสามารถเรียนรู้การบริหารระบบคุณภาพและธรรมาภิบาลเพื่อการทำงานเป็นทีมอย่างมีคุณภาพ มีความสุข และเป็นผู้นำทีมสุขภาพด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาในการรักษา
     3. มีความรู้ในกระบวนการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยสามารถสร้างงานวิจัยและองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
     4. มีความสามารถในการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเข้าสู่การฝึกอบรมต่อยอดทั้งภายในและต่างประเทศการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านหรือแพทย์ประจำบ้านต่อยอด สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา


คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
     1. ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต หรือเทียบเท่าที่แพทยสภารับรองได้รับการขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภาแล้ว ผ่านการปฏิบัติงานเพิ่มพูนทักษะ สามารถสมัครเข้า ฝึกอบรมชั้นปีที่ 1 ได้
     2. เป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติสาขาอายุรศาสตร์ของแพทยสภาหรือเป็นแพทย์ประจําบ้านปีสุดท้ายในการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรฯ สาขาอายุรศาสตร์หรือเป็นผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อวุฒิบัตรสาขาอายุรศาสตร์ในปีนั้น สามารถสมัครเข้าฝึกอบรมในชั้นปีที่ 3 ได้
     3. เป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติสาขามะเร็งวิทยาของแพทยสภาหรือเป็นแพทย์ประจําบ้านปีสุดท้ายในการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตรฯสาขามะเร็งวิทยาหรือเป็นผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อวุฒิบัตรสาขามะเร็งวิทยาในปีนั้นสามารถ สมัครเข้าฝึกอบรมในชั้นปีที่ 3 ได้
     4. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์แพทยสภาในการเข้ารับการฝึกบรมแพทย์เฉพาะทาง


การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม
     สาขาวิชาอายุรศาสตร์และหน่วยมะเร็งวิทยา ได้กำหนดกระบวนการคัดเลือกโดยมีการประกาศรับสมัครและเกณฑ์การคัดเลือกผ่านทางฝ่ายการศึกษาหลังปริญญาและการศึกษาต่อเนื่อง ของคณะฯ
     สาขาวิชาอายุรศาสตร์และหน่วยมะเร็งวิทยามีการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งเป็นอาจารย์แพทย์ในหน่วยมะเร็งวิทยาและ/หรือสาขาวิชาฯ ที่มีประสบการณ์และตัวแทนผู้เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผู้สมัคร โดยกรรมการสามารถให้คะแนนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ได้อย่างอิสระ โดยไม่คำนึงถึง เพศ เชื้อชาติ ศาสนา รวมถึงโรคหรือความพิการที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมของผู้สมัคร ผลการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม อยู่บนพื้นฐานความเสมอภาค โปร่งใส และเปิดโอกาสให้ผู้สมัครสามารถอุทธรณ์ผลได้ตามกระบวนการของคณะแพทยศาสตร์ มะเร็งวิทยาสมาคมและราชวิทยาลัยฯ อนึ่งกระบวนการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ซึ่งหน่วยมะเร็งวิทยาและ/หรือสาขาวิชาฯ จะประกาศให้ผู้สมัครรับทราบล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง
     การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมยึดหลักความเสมอภาค โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยเกณฑ์การคัดเลือกพิจารณาจาก
     1. ผลการศึกษาระดับแพทยศาสตร์บัณฑิต
     2. ประสบการณ์การทางานและกิจกรรมนอกหลักสูตร รวมทั้ง recommendation
     3. ต้นสังกัด
     4. บุคลิกภาพโดยรวม และทัศนคติในการสัมภาษณ์


วิธีการคัดเลือก
     1. ผู้สมัครส่งใบสมัครเป็นทางการให้ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ตามกำหนดการรับสมัคร พร้อมส่งหลักฐานประกอบการสมัครให้สาขาวิชาฯ
     2. สอบสัมภาษณ์ผู้สมัครโดยคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ คณาจารย์ของหน่วยมะเร็งวิทยาและ/หรือ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ ตามกำหนดเวลาและหลักเกณฑ์ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ
     3. ตัดสินผลการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือกข้างต้น กรณีที่คะแนนใกล้เคียงกันขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการการสอบสัมภาษณ์
     4. แจ้งผลการคัดเลือกให้ผู้สมัครรับทราบตามกำหนดเวลาของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ และส่งรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้แพทยสภาโดยผ่านราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ


ผลลัพธ์ของการฝึกอบรม/หลักสูตร
     แผนฝึกอบรมหน่วยมะเร็งวิทยา หลักสูตรต้องกำหนดผลลัพธ์การฝึกอบรมที่พึงประสงค์ (intended learning outcomes/milestones) ที่ชัดเจนครอบคลุมประเด็นทั้ง 6 ด้าน ดังต่อไปนี้

I การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient care)
1.สามารถซักประวัติ ตรวจร่างกาย ได้ครบถ้วนและถูกต้อง
2.มีทักษะในการแปลผลทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับทางโรคมะเร็ง
3.สามารถให้การวินิจฉัย การวางแผนการรักษาโดยใช้ยา (medical) หรือหัตถการ (procedures) และให้ความรู้แก่ผู้มีปัญหาโรคมะเร็ง
4.สามารถให้ความรู้เพื่อเพิ่มความสามารถในการป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็ง
5.สามารถบันทึกเวชระเบียนได้อย่างสมบูรณ์และสม่ำเสมอ

II. ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน (Medical knowledge and skills)
1. มีความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (basic sciences) ทางด้านโรคมะเร็ง
2. มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญในสาขามะเร็งวิทยา
3. สามารถวิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์

III. การเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการพัฒนาตนเอง (Practice-based learning)
1. มีงานวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข
2. สามารถเรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ
3. สามารถใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุผล
4. มีความสามารถทางทักษะด้านอื่นๆ เช่น ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือ ใช้โปรแกรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง กับการวิจัย (software literacy)

IV. ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills)
1. มีทักษะการนำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะให้บุคลากรทางการแพทย์
3. มีทักษะการสื่อสารให้ข้อมูลแก่ญาติและผู้ป่วย ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีเมตตา เคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับเพื่อนร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
5. มีทักษะการเป็นที่ปรึกษา และให้คำแนะนำแก่แพทย์ต่างแผนก และบุคลากรอื่น

V. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน
2. มีความสนใจใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (Continuous professional development)
3. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายและ คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

VI. การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based practice)
1. มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพและระบบยาของประเทศ
2. มีความรู้และมีส่วนร่วมในพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
3. มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย
4. มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสิทธิผู้ป่วย
5. สามารถใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสมและสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ


คณะกรรมการวิชาการและประกันคุณภาพหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านหรือแพทย์ประจำบ้านต่อยอด สาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
พล.ต.หญิง ผศ.พญ.จันทราภา ศรีสวัสดิ์ (ที่ปรึกษา)
พ.อ.นพ.อำนาจ ชัยประเสริฐ (ที่ปรึกษา)
พ.ต.ผศ.นพ.อนุพงษ์ กันธิวงศ์ (ที่ปรึกษา)
พ.อ.ผศ.(พ) นพ.ไนยรัฐ ประสงค์สุข (ประธานกรรมการ)
พ.อ.ผศ.นพ.กสานติ์ สีตลารมณ์ (กรรมการ)
พ.ท.ผศ.(พ) พญ.สิริวิมล ไทรแจ่มจันทร์ (กรรมการ)
ผศ.พญ.กฤติยา กอไพศาล (กรรมการ)
ผู้แทนแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3 หรือแพทย์ประจำบ้านต่อยอดปีที่ 1 (กรรมการ)
ผู้แทนแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 4 หรือแพทย์ประจำบ้านต่อยอดปีที่ 2 (กรรมการ)
นายชาญชลิต คำมาก (เลขานุการ)

ลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฏหมาย © 2565. มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย :: นโยบายความเป็นส่วนตัว    นโยบายคุ๊กกี้